จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ อย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ จ.อิชิกาวะ และอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน อย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ในหลาย ๆ พื้นที่ หรือจะอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผลกระทบไม่เล็กน้อยเลย เช่น ลื่นล้มบนพื้นน้ำแข็งในช่วงหน้าหนาว ทำให้หลาย ๆ คนที่มีแพลนเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นต้องตื่นตัวกันเป็นพิเศษในช่วงนี้ ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ หนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อความอุ่นใจในการท่องเที่ยวตั้งแต่ต้นจนจบทริป คือหลักประกันในรูปแบบ “ประกันการเดินทาง” อันคุ้มครองได้ในทุกภาวะวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ความช่วยเหลือหรือตัวเงิน ทีนี้ แม้ตัวจะอยู่ห่างไกลจากประเทศไทยแค่ไหน แต่ก็วางใจได้เหมือนมีผู้ช่วยอยู่ใกล้ ๆ แล้ว
ทว่าหนึ่งสิ่ง ที่มักเป็นปัญหาเมื่อเกิดแอ็คซิเดนท์ระหว่างทริป คือแม้หลาย ๆ คนจะมี ประกันการเดินทาง ติดตัวไปด้วย แต่พอเกิดเหตุจริง ๆ กลับไม่รู้วิธีการใช้งานประกันเสียอย่างนั้น หรือบางคนแม้จะรู้วิธีการดี แค่พอถึงคราวจริงก็ตื่นเต้นเสียจนทำอะไรไม่ถูก เรียกว่าไม่ต่างอะไรกับซามูไรที่มีกระบี่ในมือ แต่กลับใช้ไม่เป็นเลยว่ามั้ย
เพื่อป้องกันเหตุที่พูดถึงข้างต้น วันนี้ Samurai WiFi จึงมารวบรวมข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากความคุ้มครองของประกันภัยการเดินทาง หรือที่มักเรียกกันจนติดปากว่าการ เคลมประกันการเดินทาง ให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามง่าย ๆ ในภาวะคับขัน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของทุกคนกันนะ
ก่อนอื่น หากตกอยู่ในสถานการณ์จริงอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว จงตั้งสติ สูดหายใจเข้าลึก ๆ แล้วจดตามทีละข้อได้เลย
เกี่ยวกับประกันการเดินทาง
โดยปกติแล้ว ประกันการเดินทาง จะมีอยู่หลัก ๆ สองแบบ คือประกันภัยฟรี ซึ่งมักจะได้รับเป็นสิทธิพิเศษจากบริษัทบัตรเครดิตที่ใช้งานอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันแต่อย่างใด และประกันภัยที่ซื้อกรมธรรม์ด้วยตนเอง ซึ่งหลักการในการคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง และวิธีการเรียกร้องค่าชดเชยก็จะแตกต่างกันไปด้วย โดยจะขอจำแนกทีละส่วนดังนี้
ประกันการเดินทางฟรีจากบัตรเครดิต
การคุ้มครองโดย ประกันการเดินทาง จากบัตรเครดิต จะมีตั้งแต่คุ้มครองเฉพาะกรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง, การตกเครื่องหรือพลาดเที่ยวบิน, กระเป๋าเดินทางมาถึงล่าช้าหรือสูญหาย ไปจนถึงคุ้มครองกรณีได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทผู้ออกบัตร และวงเงินในบัตร คือยิ่งวงเงินสูง ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองที่มากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ประกันการเดินทาง จากบัตรเครดิต จะสามารถคุ้มครองได้จริง นอกเหนือจากต้องเตรียมหลักฐานในการยื่นเคลมประกัน เช่น ใบเสร็จหรือตั๋วเดินทาง ใบแจ้งความ หนังสือรับรองกระเป๋าล่าช้าหรือสูญหาย (ฯลฯ) ให้ครบถ้วน ภายใน 30 วันนับจากเกิดเหตุแล้ว ผู้ใช้งานยังจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางบริษัทกำหนด และต้องแจ้งใช้สิทธิ์ก่อนการเดินทางจริงในระยะเวลาที่ทางบริษัทผู้ออกบัตรกำหนดด้วย
เนื่องจากผู้ให้บริการบัตรเครดิตมีจำนวนมาก เราจึงขอยกตัวอย่าง ประกันการเดินทาง โดยบัตรเครดิตจาก 3 บริษัทยอดนิยม เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ได้ศึกษาแนวทาง (หากใครใช้บริการบัตรอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ แนะนำให้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของทางผู้ให้บริการได้เลยนะ)
บัตรเครดิต UOB (คุ้มครองโดยประกันภัยไทยวิวัฒน์)
- ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง เมื่อใช้บัตรชำระค่าตั๋วเครื่องบินในการเดินทาง
- ต้องแจ้งความประสงค์ในการรับความคุ้มครองอย่างน้อย 2 วันทำการก่อนเดินทางทุกครั้ง ผ่านศูนย์บริการลูกค้า (02 285 1555) โดยเตรียมแจ้งเที่ยวบิน เลขที่นั่ง วันเวลา ไป-กลับ
- การคุ้มครอง ครอบคลุมถึงคู่สมรส และบุตรที่อายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 23 ปี (ที่ยังไม่สมรส)
- ประกันการเดินทางจะไม่คุ้มครอง กรณีเกิดเหตุหลังกลับถึงไทยแล้ว 2 ชั่วโมงเป็นต้นไป
- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
บัตรเครดิต KTC (คุ้มครองโดยประกันภัย ชับบ์ – Chubb)
- ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง เมื่อใช้บัตรใช้จ่ายในประเทศที่แจ้งใช้สิทธิ์ถึงขั้นต่ำที่ทางบริษัทกำหนด (บัตรวีซ่า คลาสิก / บัตรวีซ่า โกลด์ อย่างน้อย 10,000 บาท และ บัตรวีซ่า แพลตินั่ม / บัตรวีซ่า ซิกเนเจอร์ / บัตรวีซ่า อินฟินิท อย่างน้อย 20,000 บาท)
- ต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ของทางบริษัทประกัน (www.chubb.com/th-th/VISA) ล่วงหน้า 1 วันก่อนเดินทาง โดยหากลงทะเบียนสำเร็จแล้ว จะมีการจัดส่งกรมธรรม์ให้ผ่านอีเมล
- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่
บัตรเครดิต Citibank (คุ้มครองโดยประกันภัย จาร์ดีน ลอยด์ ทอมป์สัน – Jardine Loyd Thompson)
- ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง เมื่อใช้บัตรชำระค่าเดินทางทั้งแบบเต็มจำนวน และผ่อนชำระแบบปลอดดอกเบี้ย
- ไม่จำเป็นต้องแจ้งความประสงค์ในการรับความคุ้มครอง
- ครอบคลุมครอบครัว (คู่สมรส / บุตร / บิดามารดาที่อายุไม่เกิน 70 ปี *ไม่รวมกรณีบุญธรรม)
- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่
ประกันการเดินทางที่ซื้อด้วยตนเอง
สำหรับ ประกันการเดินทาง กลุ่มนี้ จะมีเงื่อนไขการใช้งานและความคุ้มครองที่ง่ายกว่ารูปแบบแรก โดยเพียงสมัครและจ่ายเบี้ยประกันเสร็จสิ้นก่อนเดินทาง ก็มีผลครอบคลุมทันทีตั้งแต่ต้นจนจบทริปทันที แต่ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการยื่นเคลม ประกันการเดินทาง รวมถึงเงื่อนไขและข้อปฏิบัติอื่น ๆ จะมีความแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละบริษัทกำหนด ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากบริษัท ประกันการเดินทาง 3 บริษัท ดังนี้
MSIG
เมื่อเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝัน และต้องการความช่วยเหลือระหว่างทริปต่างประเทศ สามารถติดต่อบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน MSIG Assist (24 ชั่วโมง) ผ่านเบอร์โทรศัพท์ +66 2039 5704 โดยการช่วยเหลือนี้จะครอบคลุมในด้านการเดินทาง และด้านการแพทย์เป็นหลัก
ในกรณีที่ต้องการ เคลมประกันการเดินทาง เป็นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ให้รวบรวมเอกสาร และหลักฐานอื่น ๆ ที่ทางประกันกำหนด พร้อม ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ กรอกแบบฟอร์มให้ครบถ้วน จากนั้นนำแบบฟอร์มพร้อมเอกสารอื่น (รับเฉพาะเอกสารตัวจริงเท่านั้น) ส่งให้กับทางบริษัทประกันได้ผ่านทางอีเมล หรือช่องทางไปรษณีย์
ที่อยู่ :
ฝ่ายสินไหมประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ
บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 1908 อาคาร เอ็ม เอส ไอ จี ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โดยสำหรับรายการเอกสาร/หลักฐานประกอบการยื่นเพื่อรับสินไหม สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์ของประกันภัยโดยตรง ที่นี่
Sompo
กรณีประสบเหตุการณ์ไม่คาดคิดระหว่างการเดินทาง (โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งจะ Take Action ไวเป็นพิเศษ) สามารถติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ ในวันทำการ เวลา 8.30 – 17.00 ผ่านเบอร์โทรศัพท์ 02-119-3088 หรือทาง cs@sompo.co.th
ในกรณีที่เจ็บป่วยขณะอยู่ต่างประเทศ และต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล สามารถแจ้งให้ทางบริษัทประกันได้รับทราบตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำการนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งหากเป็นการรักษาผ่านการนัดหมายของทางประกัน จะสามารถเข้ารักษาได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ถือว่าสะดวกสบายมากสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องค่ารักษาบานปลาย
สำหรับกรณีที่ต้องการ เคลมประกันการเดินทาง เป็นการเรียกร้องค่าสินไหม สามารถรวบรวมเอกสารหลักฐานตามที่ทางประกันกำหนด พร้อมสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (กรณีต้องการให้โอนเงินเข้าบัญชี) พร้อมกรอกแบบฟอร์มที่ดาวน์โหลดจากทางเว็บไซต์ (ที่นี่) และยื่นเอกสารให้ทางบริษัทผ่านทางอีเมลสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์ ที่นี่
เมืองไทยประกันภัย
ในการ เคลมประกันการเดินทาง ของเมืองไทยประกันภัย ค่อนข้างอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ด้วยการเปิดให้แจ้งเคลมผ่านระบบการแจ้งเคลมออนไลน์ (ที่นี่) หรือหากถนัดช่องทางออริจินอลมากกว่า สามารถรวบรวมเอกสารหลักฐานที่จำเป็นตามที่บริษัทประกันระบุ พร้อมกรอกฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม และหน้าพาสปอร์ต ส่งไปรษณีย์ไปยังที่อยู่ของทางบริษัทได้ตามสะดวก
ที่อยู่ :
ส่วนสินไหมประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ
บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน )
252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310
แต่ขอแนะนำว่าให้รีบดำเนินการภายใน 30 วันหลังจากเกิดเหตุนะ ไม่อย่างนั้นอาจจะเคลมไม่ได้จ้า
ด้วยข้อมูลที่เราตั้งใจรวบรวมและนำมาเสนอให้กับทุกคนในครั้งนี้ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักเดินทางทุกคนในการท่องเที่ยวทริปถัดไป ต่อให้เกิดเหตุร้ายแรงแค่ไหนก็ เคลมประกันการเดินทาง ได้ง่าย ๆ รับมือได้รวดเร็วทันใจไม่มีพลาดแน่นอน ซามูไรขอรับประกัน!
สุดท้ายนี้ นอกเหนือจากประกันการเดินทางที่จำเป็นอย่างยิ่งเมื่อไปอยู่ต่างประเทศ อีกสิ่งที่สำคัญ ในชนิดที่แทบจะเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คืออุปกรณ์สื่อสารคู่ใจพร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อการติดต่อสื่อสารทางไกล ทั้งเวลาทั่วไปและช่วงคับขัน ซามูไรจึงอยากขอแนะนำบริการอินเทอร์เน็ต ทั้งในรูปแบบ Pocket WiFi ซิมการ์ด และ eSIM จาก Samurai WiFi และ Samurai Sim ที่มาพร้อมไฮสปีดดาต้า และแพ็กเกจหลากหลายให้เลือกสรร หากสนใจติดต่อเราได้ด้านล่างเลย!